ดูกันชัดๆ ทำไมต้อง "รถไฟทางคู่" !?
ทำไมต้อง “รถไฟทางคู่”
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีรถไฟใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนิ่นนานหลายปี ระบบการคมนาคมทางรถไฟของไทย ยังคงมีเสียงตอบรับจากผู้โดยสารที่ไม่รู้สึกปลื้มเท่าไหร่นัก กับการบริการที่มักจะล่าช้า กลายเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการเดินทางที่ต้องอาจจะต้องพบเจอกับความสกปรก ทั้งเบาะนั่ง และห้องน้ำ และยังคงความคลาสสิกไม่เปลี่ยนแปลง
จนกระทั่งหลายคนต้องการให้มีการ ‘ปฏิรูปรถไฟไทย’ โละปรับโฉมใหม่ยกเข่ง ทั้งบุคลากร ระบบราง คุณภาพของรถ และหัวรถจักรที่ทันสมัย และแม้ว่า รถไฟความเร็วสูง ยังไม่ใช่โครงการเร่งด่วนของ คสช. เนื่องจากใช้งบประมาณสูง แต่ทาง สคช.เอง สนใจศึกษารายละเอียดในการจัดการเดินหน้าระบบราง นั่นก็คือ “รถไฟทางคู่”
ด้วยการแข่งขันทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ การข่นส่ง คมนาคม เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เราจะเห็นข้อด้อยของรถไฟไทยเป็นอย่างมาก หนทางที่จะต้องเดินหน้าคือ เน้นมาพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพราะมีราคาถูกปลอดภัยสะดวกและรวดเร็ว ได้รับการยอมรับในระดับสากลเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน
รถไฟทางคู่ ก็คือรถไฟที่วิ่งบนรางคู่ ระบบรางเหมือนรถไฟความเร็วสูง แต่ใช้ความเร็วประมาณ 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แก้ปัญหา รถไฟรอสลับราง ไม่ต้องรอหลีกทางเมื่อรถสวนกัน สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าเดิม และช่วยในเรื่องของการข่นส่งสินค้า สร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้กับประเทศให้ดึงดูดกับการลงทุน
โดยความคืบหน้าของโครงการ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิด เผยว่า ขณะนี้ได้เริ่มเปิดประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่แล้ว 1 เส้นทาง คือ ระหว่างถนนจิระถึงขอนแก่น ส่วนอีก 5 เส้นทางที่อยู่ในแผนของการรถไฟฯ นั้น ยังอยู่ระหว่างการศึกษาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเลี่ยงเส้นทางบางจุด
ขณะที่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับค่าโดยสารรถไฟ ที่คาดว่าจะมีอัตราค่าโดยสารดังนี้
เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ รถไฟทางคู่ ค่าโดยสาร 881 บาท ระยะทางกรุงเทพฯ – หนองคาย รถไฟทางคู่ 758 บาท
ระยะทางกรุงเทพฯ – หาดใหญ่ ค่าโดยสารรถไฟทางคู่ อยู่ที่ 945 บาท
แน่นอนว่า รถไฟทางคู่ ย่อมใช้งบประมาณน้อยกว่ารถไฟความเร็วสูง เพราะรถไฟความเร็วไม่ได้วิ่งอยู่บนรางเดิม ต้องสร้างระบบทุกอย่างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เมื่องบประมาณยังมีไม่มากนัก การสร้างทางคู่ไปก่อน ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปอีกขั้น หากมีการเสริมการพัฒนาด้านขบวนรถ เปลี่ยนหัวรถจักรใหม่ใหม่ ให้สามารถวิ่งได้รวดเร็ว และพัฒนาคุณภาพในตัวขบวนรถ
เชื่อว่าอีกไม่ช้า เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แต่การบริการ จะเหมือนเดิมๆหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นผู้ให้บริการเดินรถ หากยังเป็นการรถไฟอยู่ก็ต้องมีการปรับโฉมการให้บริการเสียใหม่ให้ไฉไลมากกว่านี้…
“เพรชพิริยะ”
MThai News
No comments:
Post a Comment