10 สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์เพราะมนุษย์ใจร้าย
ในประวัติศาสตร์นั้นเราจะรู้กันดีกว่ามีมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว เริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิต ลิงวานร และเริ่มมีวิวัฒนาการกลายมาเป็นมนุษย์อย่างในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเรามีการพัฒนามากขึ้น การไล่ล่า การกิน การอยู่รอด ก็ตามมาเรื่อยๆ ในยุคแรกๆ หลายพันปีนั้นมีสัตว์หลากหลายขนิดเกิดขึ้นมามากมาย และก็มีไม่น้อยที่สูญพันธ์ไปเพราะเกิดจากการไล่ล่าของมนุษย์นั่นเอง วันนี้ทีนเอ็มไทยมี 10 สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์เพราะมนุษย์ใจร้าย มาฝากเพื่อนๆ ให่อ่านเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ กันคะ นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่นำมายกตัวอย่างนะคะ ..
10 สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์เพราะมนุษย์ใจร้าย
1. นกโดโด้ : สูญพันธุ ตอนปลายของศตวรรษที่ 17
นกโดโด้หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Raphus Cucullatus เป็นนกที่บินไม่ได้ แหล่งที่อยู่อาศัยคือ หมู่เกาะเมอริตัส เป็นนกในตระกูลเดียวกันกับนกพิราบและนกนางแอ่น สูงประมาณ 1 เมตร (3 ฟุต) กินผลไม้เป็นอาหารและมักทำรังบนพื้นดิน นกโดโด้มักจะได้เป็นสัญลักษณ์ของการสูญพันธุ์ของสัตว์ต่างๆเพราะมันเป็นสัตว์ชนิดแรกของโลกที่สูญพันธุ์ในยุคที่มนุษย์เริ่มบันทึกการหายไปของสัตว์ เพราะฉะนั้นฝรั่งจะมีสำนวนที่ว่า “as dead as dodo” แปลได้ว่า ตายหยังเขียด หรือ “to go the way of the dodo” แปลได้ว่า การสูญพันธุ์ หรือ ล้าสมัย
2. เพนกวินยักษ์ : สูญพันธุ์ในปี 1844
เพนกวินยักษ์เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับเพนกวินซึ่งบินไม่ได้ สูงประมาณ 75 เซนติเมตร หรือ 30-34 นิ้วและหนัก 5 กิโลกรัม ในสมัยก่อนพบมากในแถบหมู่เกาะนอกชาวฝั่งของแคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ไอแลนส์ และอังกฤษ แต่จากการล่าโดยไม่มีการจำกัดทำให้มันสูญพันธุ์ในที่สุด
3. กวางไอริช : กวางที่ใหญ่ที่สุดในโลก สูญพันธุ์ไปเมื่อ 7,700 ปีก่อน
กวางไอริชหรือกวางยักษ์อาศัยในแถบยูเรเชียตั้งแต่ประเทศไอแลนด์ไปจนถึงเบงกอลในยุค Pleitocene ถึงช่วงต้นยุค Holocene จากการศึกษาโครงกระดูกมันมีชีวิตอยู่ในช่วง 5,700 BC หรือ 7,700 ปีที่แล้ว มันสูงถึง 2.1 เมตร หรือ ราวๆ 7 ฟุต วัดจากเท้าถึงไหล่ มีการถกเถียงกันถึงสาเหตุของการสูญพันธุ์ของมันซึ่งส่วนใหญ่บอกว่าเป็นเพราะขนาดที่ใหญ่ของมันทำให้เป็นจุดเด่นสำหรับผู้ล่า
4. พะยูน สเตลล่า : สูญพันธุ์ในปี 1768
สมัยก่อนมักพบมากในเขตทะเลแบร์ลิ่ง มันถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกในปี 1741 โดยนักธรรมชาติวิทยา George Steller พยูนนี้สามารถโตเต็มที่และยาวได้ถึง 7.9 เมตร (25.9 ฟุต) และหนักได้ถึง 3 ตัน จากการศึกษาฟอสซิลของมันพยูนนี้เคยอาศัยอยู่ในแถบทะเลแปซิฟิคยาวไปถึงตอนใต้ของญี่ปุ่นและรัฐแคลิฟอเนีย
สาเหตุหลักๆที่ทำให้มันสูญพันธุ์คือ การมาถึงของมนุษย์ในแถบชายฝั่งทะเล มีหลายคนอ้างว่ายังพบเห็นกลุ่มพยูนสเตลล่าอยู่บริเวณทะเลแบร์ลิ่งและชายฝั่งของประเทศกรีนแลนด์ ซึ่งก็อาจจะยังมีพยูนแตลล่าบางส่วนเหลือรอดมาได้แต่ก็ไม่มีหลักฐานมายืนยันแต่อย่างใด
5. ครึ่งม้าลาย ครึ่งม้า (Quagga) : สูญพันธุ์ในปี 1883
หนึ่งในสัตว์สูญพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักในแอฟริกา Quagga เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับม้าลาย ซึ่งในช่วงหนึ่งพบมากในแถบแอฟริกาใต้ เหมือนสัตว์อื่นๆที่ถูกล่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร
Quagga ตัวสุดท้ายถูกยิงในปี 1870 และ Quagga ในสวนสัตว์ตัวสุดท้ายของโลกตายเมื่อ 12 สิงหาคม 1883 ที่ สวนสัตว์ Artis Magistra ในกรุงอัมส์เตอร์ดัม เพราะความสับสนในการแยกแยะว่า Quagga ควรแยกเป็นสัตว์อีกพันธุ์จากม้าลายหรือไม่ มันก็สูญพันธุ์ไปซะก่อนก่อนที่มันจะถูกจัดเป็นสัตว์อีกพันธุ์นึงที่ไม่ใช่ม้าลาย แต่จากการศึกษารูปแบบ DNA ของมันโดยศูนย์วิจัยของสมิธโซเนี่ยนพบว่า Quagga ก็คือม้าลายธรรมดานี่เองเพียงแต่มันเริ่มกลายพันธุ์โดยไม่ทราบสาเหตุ
6. วัวยักษ์ (Aurochs) : สูญพันธุ์ในปี 1627
เป็นสัตว์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในยุโรป มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศอินเดียเมื่อกว่า 2 ล้านปีก่อนและได้อพยพไปอาศัยในแถบเอเชีย และอพยพมาอยู่ในยุโรป เมื่อราวๆ 250,000 ปีก่อน จนเมื่อศตวรรษที่ 13 จะพบมันได้เฉพาะในประเทศ โปแลนด์ ลิทูเนีย โมดาเวีย ทรานซิลเวเนีย และ ปรัสเซีย
ในสมัยก่อนผู้ที่จะสามารถล่ามันได้มีเฉพาะขุนนางผู้ใหญ่และเศรษฐีเท่านั้น เมื่อการล่าเพิ่มมากขึ้นกฎหมายคุ้มครองมันก็ถูกร่างขึ้นมาแต่สำนักราชวังยังคงต้อง ทำการล่าพวกมัน เพราะเป็นส่วนหนึ่งในประเพณีของราชวงศ์ที่ต้องคงไว้แต่หากผู้อื่นใดล่ามันจะถูกประหารชีวิตทันที ในปี 1564 มีการบันทึกโดยราชวงศ์ว่ามี Aurochs เหลืออยู่เพียง 38 ตัว
7. ช้างแมมมอธ : สูญพันธ์ 10,000 ปีก่อน
เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อ 20,000 ปีก่อน แต่สูญพันธุ์ไปเพราะถูกมนุษย์ยุค หินล่า แม้ก่อนหน้านี้จะมีการสันนิษฐานสาเหตุการตายของมันว่า เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันจึงทำให้ล้มตาย แต่หลังจากมีการค้นพบสุสานช้างขนาดใหญ่ พร้อมด้วยอาวูธยุคหินจำนวนมากที่ฝังอยู่ใต้กระดูกของพวกมัน และดูเหมือนว่าทุกตัวจะกระดูกขาหักเพราะตกจากที่สูง จึงทำให้บางส่วนคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับการล่าของมนุษย์ด้วย ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ยุคก่อนใช้ไฟและหอกปลายแหลมไล่ล่าเจ้าแมมมอธพวกนี้ให้ตกจากหน้าผา เพื่อให้ง่ายต่อการฆ่าภายหลัง
8. นกพิราบ (Passenger Pigeon) : สูญพันธ์เมื่อปี 1914
จากนกพิราบที่เคยมีนับพันล้านตัวในทวีปอเมริกาเหนือ ดูเหมือนว่าพวกมันได้รับผลกระทบจากการตัดไม้และไล่ล่าพวกมันเพื่อนำเนื้อมากิน จนเกือบสูญพันธ์ในช่วงยุค 1890 แต่ก็ยังประสบปัญหาเดิมอยู่ในภาวะวิกฤติ ก่อนที่จะหายสาบสูญไปอบ่างสมบูรณ์ เมื่อนกตัวสุดท้ายตายลงในปี 1924 ที่สวนสัตว์ Cincinnati Zoological Garden
9. เสือดาวแซนซิบาร์ (Zanzibar leopard) : สูญพันธ์เมื่อปี 2000
สัตว์ตระกูลแมวยอดนักล่าที่สวยงามสายพันธุ์นี้ เคยอาศัยอยู่ในผืนป่าบนเกาะแซนซิบาร์ของประเทศแทนซาเนีย เกาะแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาสมทุรอินเดีย นอกชายฝั่งอาฟริกาตะวันออก
เสือเหล่านี้มีเฉพาะบนเกาะแซนซิบาร์เท่านั้น ทว่ามีข้อมูลของพวกมันอยู่น้อยมาก โดยมีหนังของเสือดาวชนิดนี้ถูกเก็บไว้เพียงหกผืน การขยายตัวของชุมชนมนุษย์บนเกาะแห่งนี้ส่งผลคุกคามต่อเสือดาว และเมื่อพวกมันเข้ารบกวนสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ พวกเสือดาวจึงถูกไล่ล่าจนลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อกลางทศวรรษที่ 1990 เสือดาวแซนซิบาร์ก็ถูกระบุว่าสูญพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มีรายงานที่ไม่แน่ชัดถึงการพบเห็นเสือดาวบนเกาะแซนซิบาร์อยู่เป็นระยะ ทว่ายังไม่มีหลักฐานอื่นที่ชัดเจนถึงการเหลืออยู่ของพวกมัน
10. เสือทัสมาเนีย (Tasmanian Tiger) : สูญพันธ์ปี 1936
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หมาป่าทัสมาเนีย (Tasmanian Wolf) ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Thylacine เป็นสัตว์กินเนื้อที่หายากซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าสูญพันธุ์หมดไปจากโลกนี้แล้ว เป็นสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดที่สูญพันธุ์ในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่ที่สูญพันธุ์จะเป็นสัตว์กินพืชซะมากกว่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลียและปาปัวนิวกินีย์ มีการพบเห็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเสือทัสมาเนียครั้งสุดท้าย ในเวสต์ออสเตเลีย บนแผ่นดินใหญ่ แต่พบเป็นฟอสซิล หรือซากศพที่ติดอยู่ในหินอายุประมาณ 3,100 ปี
มีลักษณะคล้ายๆกับสุนัขในบ้านเรา แต่มีฟันหน้าที่แหลมคม นอกจากนั้นลำตัวและหางของเสือประเภทนี้มีลักษณะคล้ายๆกับจิงโจ้ บางครั้งมันยืนด้วยสองขาหลังเหมือนจิงโจ้ด้วย เสือทัสมาเนียที่ชาวออสเตเลียเคยเห็นเป็นขนปุยลายทางสีน้ำตาลอ่อน มีสีดำสลับที่สันหลังค่อนไปทางก้น
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เสือทัสมาเนียสูญพันธุ์อาจมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ประการที่เห็นชัดๆ คือการล่าอย่างไม่มีของเขต เมื่อชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ๆนั้น เสือทัสมาเนียก็เริ่มหดหายไป เนื่องจากพวกที่เข้ามาใหม่นั้นนำแกะเข้ามาเลี้ยง โดยบริษัท Van Diemens Land Co. ให้ค่าหัวในการล่าเสือทัสมาเนีย ต่อมารัฐบาลสั่งห้ามการล่าดังกล่าวเสีย แต่กว่าจะหยุดได้ก็ทำให้เสือดังกล่าวหายากมาก ตามบันทึกบอกว่าเสือทัสมาเนียตัวสุดท้ายของโลกตายในสวนสัตว์โฮบาร์ต ทัสมาเนีย เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2479 และในปีนี้เองรัฐบาลประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการของเสือชนิดนี้ และอีกหลานสาเหตุ ได้แก่การที่ผู้คนไม่ใส่ใจจะอนุรักษ์สัตว์ประเภทนี้ไว้ แต่บางรายงานก็บอกว่าเพราะการแพร่ระบาดของโรคบางชนิด
เรียบเรียง teen.mthai.com
ขอบคุณข้อมูล dvdgameonline.com,www.jabchai.com,http://www.komkid.com/
No comments:
Post a Comment