วิธีการเขียนบรรณานุกรรม แบบไทย
อีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เล่มรายงานเสร็จสมบูรณ์ได้ นั้นคือ การเขียนบรรณานุกรม ปิดท้ายเล่ม เชื่อว่าน้องๆ หลายคนแม้จะทำรายงานส่งคุณครู ส่งอาจารย์มาบ่อยแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจการเขียนบรรณานุกรรมได้ถูกต้องเท่าไร บรรณานุกรรมคืออะไร และมีความจำเป็นอย่างไร วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน
การเขียนบรรณานุกรรม
ก่อนอื่นเราต้องทราบความหมายของ บรรณานุกรรมกันก่อน บรรณานุกรรม หรือ Bibliography คือ รายการของทรัพยากรสารนิเทศระบุแหล่งที่มาที่ผู้เขียนได้ใช้ประกอบการเขียนหนังสือ โดยจะอ้างอิงไว้ส่วนท้ายหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อแสดงหลักฐาน ความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้อ่านรายงาน ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ความสําคัญของบรรณานุกรม
1. เพื่อแสดงว่ารายงานฉบับนั้นเป็นรายงานที่มีสาระน่าเชื่อถือได้
2. เพื่อแสดงว่าผู้เขียนรายงานเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้แต่งหนังสือที่ได้นํามาใช้ประกอบการเขียนนั้น
3. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้ศึกษารายละเอียด หรือข้อเท็จจริงที่นํามาประกอบการเขียนเพิ่มเติมได้อีก
4. เพื่อตรวจสอบหลักฐานดั้งเดิมที่ผู้เขียนนํามาประกอบในรายงาน
การเขียนบรรณานุกรม
หลักทั่วไปในการเขียนบรรณานุกรม มักจะเรียงลำดับ ดังต่อนี้ไป
1. เขียนคำว่า “บรรณานุกรม” หรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้คำว่า “BIBLIOGRAPHY” ไว้กลางหน้ากระดาษ
2. เริ่มต้นเขียนติดริมขอบกระดาษที่เว้นไว้ประมาณ 1.5 นิ้ว เริ่มจาก ชื่อ ชื่อสกุล. เว้นวรรค ชื่อเรื่อง. เว้นวรรค ครั้งที่พิมพ์. เว้นวรรค เมืองที่พิมพ์ เว้นวรรค : เว้นวรรค ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ (หรือสำนักพิมพ์), เว้นวรรค ปีที่พิมพ์.
3. โดยเรียงรายการตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ ตัว ฤ,ฤา เรียงไว้หลังอักษร ร และตัว ฦ,ฦา เรียงไว้หลังอักษร ล เช่น ชื่อผู้เขียน ต้องเริ่มจากกานดา จันทร์จิรา รัติกาล ฤดี ลิขสิทธิ์ ฦชา เช่นต้น
4. การเรียงรายการบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ ให้เรียงตามลำดับตัวอักษรตั้งแต่ A-Z โดยให้เรียงตามลำดับอักษรแบบคำต่อคำ (word by word) คือ ดูคำแต่ละคำ เช่น ถ้าอักษรตัวแรกเหมือนกัน ก็เรียงตามตัวที่สอง ถ้าตัวที่สองเหมือนกัน ก็เรียงตามตัวที่สาม ไปเรื่อยๆ
5. หากรายการที่นํามาจัดทําบรรณานุกรมมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้เรียงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ
วิธีการเขียนบรรณานุกรม หนังสือภาษาไทย
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, / / / / / / / /ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
กิตติกร มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์, 2544.
วิธีการเขียนบรรณานุกรม หนังสือภาษาอังกฤษ
ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ / / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
Hartley, Eric Key. Childhood and society. 2 nd ed. New York : Mc Graw – Hill, 1989.
วิธีการเขียนบรรณานุกรม บทความจากหนังสือ
ชื่อผู้เขียน./ / “ชื่อตอนหรือบทความ” / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ / / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
สมจิต หนุเจริญกุล และ ประคอง อินทรสมบัติ. “การประเมินผลการพยาบาล” ใน เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15. หน้า 749 – 781. มยุรา กาญจนางกูร, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
วิธีการเขียนบรรณานุกรม บทความจากวารสาร
ชื่อผู้เขียน. / / “ชื่อบทความ” / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; / / / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
ตัวอย่าง
วิทยาคม ยาพิศาล. “การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ” กรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์. 46(3) : 142 – 153 : กรกฎาคม – กันยายน 2547.
วิธีการเขียนบรรณานุกรม บทความจากหนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ. / / “ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์” /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/ / / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.
ตัวอย่าง
นิติภูมิ เนาวรัตน์. “เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู” ไทยรัฐ. 5 มิถุนาน 2546. หน้า 2.
วิธีการเขียนบรรณานุกรม สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
ฐานข้อมูล ซีดี – รอม
ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / / / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ.
ตัวอย่าง
นพรัตน์ เพชรพงษ์. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร. [ซีดี – รอม]. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2545. สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547.
ฐานข้อมูลออนไลน์
ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).
ตัวอย่าง
พิมลพรรณ พิทยานุกูล. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : / / www.lib.buu.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546). เรวัติ ยศสุข. “ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย.” ฉลาดซื้อ. [ออนไลน์]. 6(6) ; กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2546. เข้าถึงได้จาก : http :/ /www.kalathai.com = 16. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547)
ที่มาข้อมูลจาก janthai.com
No comments:
Post a Comment