ทำความรู้จัก บทกลอน หาแถงแง่ฟ้าหาง่าย ในละครบุพเพสันนิวาส
ในตอนหนึ่งที่ การะเกด หรือ เกศสุรางค์ ถูกสบประมาท และถูกชวนให้เขียนบทกลอน จนเธอเขียนออกมาบทนึง ซึ่งกลอนบทนี้แท้จริงแล้วเธอหยิบมาจากบทกลอนของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ที่ทรงประพันธ์เรื่อง “กนกนคร” มาใช้ ดังนี้
ทำความรู้จัก บทกลอน หาแถงแง่ฟ้าหาง่าย ในละครบุพเพสันนิวาส
“หาแถง แง่ฟ้าหาง่าย เบื่อหน่าย บงนักพักตร์ผิน หาเดือน เพื่อนเถินเดินดิน คือนิล นัยนาหาดาย เพ็ญเดือน เพื่อนดินสิ้นหา เพ็ญเดือน เลื่อนฟ้าหาง่าย เดือนเดิน แดนดินนิลพราย เดือนฉาย เวหาสปราศนิล”
โดยเฟซบุ๊ก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ได้เปิดเผยว่า บทกลอนนี้มีการใช้คำซ้ำคือ “หา” “เดือน” และ “นิล” เพื่อให้เกิดความไพเราะ
และความหมายนั้น คือ แสดงให้เห็นถึงความฝังใจในตัวของนางกนกเรขา และเพื่อยกย่องนางกนกเรขา จึงแต่งกลอนบอกว่า พระจันทร์บนฟ้าสามารถพบเห็นได้ง่าย จนน่าจำเจเบื่อหน่าย และต้องเบือนหน้าหนี หากแต่เดือนบนดิน ซึ่งก็คือนางกนกเรขา เขากลับอยากเห็นหน้า ใจแทบขาด แต่กลับไม่ได้พบ และถึงแม้ว่าจะมีพระจันทร์อยู่เป็นเพื่อนก็ไร้ความหมาย เพราะไม่งามประทับใจเท่ากับเดือนบนดิน
ที่มา : สุนทรียลักษณ์ในกนกนคร โดย วลีรัตน์ กฤตลักษณ์
ที่มาข้อมูลและภาพจาก เฟซบุ๊ก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์, ละครบุพเพสันนิวาส
No comments:
Post a Comment